นิตยสาร SMEs สร้างอาชีพ จัดงานมอบรางวัลธุรกิจ SMEs ทะยานสู่ปีที่ 5 ภายใต้ชื่อ “SMEs สร้างอาชีพ Awards 2018” เฟ้นสุดยอดแต่ละสาขารวม 35 แบรนด์ มั่นใจปี 62

  

  นิตยสาร SMEs  สร้างอาชีพ จัดงานมอบรางวัลธุรกิจ SMEs  ทะยานสู่ปีที่ 5 ภายใต้ชื่อ  “SMEs สร้างอาชีพ Awards 2018” เฟ้นสุดยอดแต่ละสาขารวม 35 แบรนด์ มั่นใจปี 62 ภาครัฐบาลชูเทคโนโลยี 4.0 +วางกลยุทธ์หนุนกลุ่มเอสเอ็มอีรอบทิศ คาดการเติบโตพุ่งพร้อมพัฒนาขีดสุดในระบบดิจิตอลออนไลน์

นางสาวพรทิพย์ แก่นจันทร์ กรรมการผู้จัดการ นิตยสาร SMEs สร้างอาชีพ เปิดเผยว่า “สำหรับการจัดงานมอบรางวัลภายใต้ชื่องาน “SMEs สร้างอาชีพ Awards 2018” ขึ้นเป็นปีที่ 5 ก้าวสู่ปีที่ 6  เพื่อมอบรางวัลแก่กลุ่มธุรกิจ SMEs จำนวน 35 แบรนด์ ซึ่งแบ่งเป็นรางวัลประเภท The Best of Product , THE Best of Thai Herbal Skincare, The Best of Customer Service , The Best of Franchise , The Best of Academy , The Best of CEO Branding Strategy, และรางวัล SME สร้างอาชีพ Popular vote ซึ่งเป็นรางวัลที่ทีมงาน SMEs สร้างอาชีพ ได้ทำการคัดสรรประเภท 5 ธุรกิจที่มีการเติบโตและได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคมาตลอดระยะเวลา 1 ปี เพื่อเข้าชิงรางวัล SMEs สร้างอาชีพ Popular Vote  ประจำปี 2561 ในครั้งนี้โดยมีผู้ที่ติดตามข่าวสารจากสื่อต่างๆ ของ SMEs สร้างอาชีพ เป็นผู้ตัดสิน  การจัดงานมอบรางวัลอย่างต่อเนื่องรู้สึกเป็นเกียรติ และภาคภูมิใจร่วมไปกับเจ้าของธุรกิจเอสเอ็มอีที่ร่วมเข้ารับรางวัลทุกๆ ท่าน  งานมอบรางวัล SMEs สร้างอาชีพ Awards  เป็นงานที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อมุ่งหวัง ในการสร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้ประกอบธุรกิจ และเพื่อประกาศเกียรติยศ ในความสำเร็จของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ดำเนินธุรกิจด้วยความมุ่งมั่น และมีจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจมาโดยตลอด”

หลักเกณฑ์ในการตัดสินมอบรางวัลพิจารณาจะมีทีมตรวจสอบคุณสมบัติ โดยมีหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบคุณสมบัติ ดังนี้คือ

  1. เป็นธุรกิจที่มีรูปแบบการบริหารงาน มีกระบวนการและมีระบบการดำเนินธุรกิจที่มีมาตราฐานและได้รับความนิยมจากผู้บริโภค
  2. เป็นธุรกิจที่มีผู้บริหารที่มีทัศนะคติ และมีมุมมองในการบริหารงานที่โดดเด่นในการนำองค์กรสู่ความสำเร็จ
  3. เป็นบุคคล หรือสถาบันที่มีส่วนในการพัฒนาอาชีพ ให้กับผู้ที่ต้องการมีอาชีพอย่างดีเยี่ยมมาโดยตลอด
  4. เป็นบุคคลที่เป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ประกอบการรายใหม่ๆ
  5. เป็นธุรกิจที่มุ่งเน้นการให้บริการลูกค้า และมีการทำการตลาดอย่างต่อเนื่อง
  6. สินค้า หรือผลิตภัณฑ์ได้รับมาตราฐานถูกต้องตามกฎหมาย และได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง
  7. สินค้า หรือผลิตภัณฑ์ได้รับมาตราฐานถูกต้องตามกฎหมาย พร้อมทั้งมีความโดดเด่นมีเอกลักษณ์อย่างยอดเยี่ยม
  8. เป็นธุรกิจการให้บริการ ที่มีความโดดเด่น ทันสมัย ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างดีเยี่ยม
  9. เป็นธุรกิจแฟรนไชส์ที่อยู่ในกระแสความนิยมของนักลงทุน และกระแสตอบรับจากผู้บริโภคในปัจจุบัน
  10. เป็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในด้านการสร้างกำไรจากยอดขาย
  11. เป็นธุรกิจสร้างสรรค์ที่นำมาซึ่งการสร้างผลิตภัณฑ์ หรือรูปแบบการให้บริการ ใหม่ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภค

           กรรมการผู้จัดการ กล่าวต่อไปว่า “   นอกจากนี้ในปี 2561 กลุ่มรางวัล Star Business ที่มีความมุ่งมั่น จริงจัง พร้อมมีแนวคิดการทำการตลาด อาทิ คุณหวาหว่า นักร้องจากวงไชน่าดอลล์  ขนตาปลอมคุณภาพพรีเมี่ยมจากแบรนด์ BabyLashes  , คุณโบวี่ อัฐมา ชีวนิชพันธ์ จากแบรนด์อาหารเสริม 4SENSE และคุณเบลล์ มนัญญา  นักร้องวงเกิร์ลลี่เบอร์รี่ จากร้านเบเกอรี่ ALL Are Eggs  , คุณมิค-บรมวุฒิ หิรัณยัษฐิติ  จากแบรนด์ ปูไข่เยิ้ม by Mick และ คุณเมย์ ปทิดา กำเนิดพลอย จากแบรนด์ มิสเซ่  เป็นต้น

ภาพรวม  SMEs ไทยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 61  ผู้ประกอบการ SMEs ส่วนมากยังคงมองว่าเศรษฐกิจในประเทศยังคงเป็นช่วงที่ซบเซา เป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง และความไม่แน่นอน ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการดำเนินธุรกิจ และการลงทุนเป็นอย่างมาก ปัจจัยหลายอย่างทำให้ผู้ประกอบการต้องประเมินสถานการณ์ และการลงทุนอย่างรอบครอบ   ส่วนตลาดประเทศเพื่อนบ้านนั้นยังคงเปิดกว้างเป็นอย่างมาก นอกจากนี้การเข้ามาของเทคโนโลยี 4.0 ที่ทางภาครัฐฯ ได้สนับสนุนนั้นยังสามารถสนับสนุนด้านการสร้างช่องทางการตลาดให้กับธุรกิจ SMEs ได้เป็นอย่างดีเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายทั้งในประเทศ และประเทศเพื่อนบ้านได้ง่าย และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น นับว่าเป็นเทคโนโลยีที่ลงทุนต่ำ แต่ได้ประโยชน์สูง ผู้ประกอบการ SMEs ต้องพยายามศึกษาประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ให้มาก เพื่อประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจต่อไป

สำหรับในปี 2562 ทิศทางตลาดเชื่อว่าการเข้ามาร่วมลงทุนในประเทศไทย ภาครัฐบาลดึง แจ็ค หม่า ประธานบริหารของเครือธุรกิจ อาลีบาบา จะสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้กับวงการธุรกิจเอสเอ็มอีไทย นับว่าเป็นการเพิ่มขีดศักยภาพในการพัฒนาสินค้าและรูปแบบการบริหารใหม่ๆ โดยอาศัยระบบดิจิตอลในการทำให้สินค้าสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในตลาดทั่วโลก และอีกโครงการที่น่าสนใจคือ โครงการร่วมส่งเสริมพัฒนาทักษะด้านดิจิตอลอีคอมเมิร์ซ สำหรับเอสเอ็มอี และสตาร์ทอัพของไทย เพื่อยกระดับขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีดิจิตอล ที่ทางอาลีบาบาจะจัดทีมงานลงพื้นที่ร่วมกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยใช้เครือข่ายศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 (ไอทีซี) ในระดับภาคและจังหวัดทั้ง 12 แห่ง เพื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีความเข้าใจ ได้เรียนรู้และพัฒนาการใช้เทคโนโลยีพัฒนา SME และสตาร์ตอัพระดับชุมชน มากขึ้น และสามารถนำเสนอขายสินค้าผ่านโครงการสมาร์ต ดิจิตอลฮับในอนาคต  โดยทั้ง 2 โครงการที่กล่าวนี้หากทำสำเร็จเชื่อได้เลยว่าจะทิศทางการตลาดในวงการธุรกิจเอสเอ็มอีจะก้าวไปสู่ในทิศทางที่ดีแน่นอน”

อย่างไรก็ตามมุมมองสำหรับเอสเอ็มอีไทยต่อภาครัฐฯ เล็งเห็นว่านโยบายในการสนับสนุนเอสเอ็มอีไทยที่ผ่านมานั้นภาครัฐบาลเต็มที่  อาทิ สนับสนุนเทคโนโลยี การให้ความรู้ การผลักดันสินค้า และการบริการ ขยายตลาดเพื่อนบ้านจนถึงตลาดโลก รวมไปถึงการสนับสนุนแหล่งเงินทุนในการกู้ยืม ให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการดำเนินธุรกิจดังนั้นในเรื่องเงื่อนไขของการกู้ยืมเงินทุนในการดำเนินธุรกิจ ต้องการให้ภาครัฐฯ ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขบางจุด เพื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยได้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้สะดวกมากขึ้น เพื่อให้เกิดการกระจายแหล่งเงินกู้เพื่อส่งเสริมธุรกิจเอสเอ็มอีไทยอย่างแท้จริง